Archive for February 21st, 2008

พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เดือนร้อนแค่ ๑% จะบ่นทำไม

February 21, 2008

ใครเดือนร้อนกับ พ.ร.บ. นี้บ้าง อยากรู้ไหมครับ ก่อนอื่นก็ต้องไป download พ.ร.บ.สถาบันคุ้มคองเงินฝาก มาอ่านดูก่อนนะครับว่าเขาว่าไงบ้าง

ปัจจุบันมีเงินฝากทั้งระบบประมาณ ๖.๖ ล้านล้านบาท เยอะมากๆครับ ทำไมประเทศไทยจึงมีเงินในตลาดเงินเยอะขนาดนี้ หนึ่งในนั้นคือคนไทยไม่มีความรู้ครับ โดยเฉพาะคนรวยๆและกลัวเกินเหตุ จากวิกฤตต่างๆ หรือเพราะการปลูกฝังให้ความรู้เรื่องการออมเงิน ผ่านการฝากเงินในธนาคารเท่านั้น โดยหารู้ไม่ว่า ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ฝากไว้จะได้รับเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเงินเฟ้อเท่าไหร่ รู้แต่ว่าฝากเงินในธนาคารปลอดภัยแน่นอน

bot_money_08.gif

ถึงตอนนี้ความปลอดภัยที่ว่าหายไปแล้วครับ พร้อมกับการประกาศ พ.ร.บ.นี้ ถึงเวลาที่คุณต้องมาศึกษาการออมเงินในรู้แบบอื่นได้แล้ว คุณคนรวยทั้งหลาย การฝากธนาคารก็มีความเสี่ยงนะครับ เดิมทีก่อนมีประกาศนี้ก็มีความเสี่ยง แต่คุณไม่รู้เองนะครับ พร้อมการเสียโอกาสอีกเพียบ

ดูในตารางสิครับ ประเทศไทยมีเงินฝากออมทรัพย์มากถึง ๒.๖ ล้านล้านบาท ทั้งที่ดอกเบี้ยของการฝากเงินแบบนี้ ได้ต่ำเรี่ยดิน คนฝากเงินหารู้ไม่ว่า แท้จริงแล้ว ค่าของเงินที่มีอยู่พร้อมดอกเบี้ยที่ได้ทุกปี ดูแล้วมันมากขึ้นแต่มูลค่าของมันลดลงทุกๆปี เพราะดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ จากอัตราเงินเฟ้อ เหอ..เศร้าใจ ประเทศชาติและคนฝากเสียโอกาสจากการนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนมากขนาดไหน ลองคิดดูสิครับ

แม้ว่าปัจจุบัน คนไทยเราจะมีความรู้เรื่องการลงทุนมากขึ้น ดูจากอัตราการเติบโต ของบริษัทและทรัพย์สินในกองทุนต่าง ดูสรุปรวมที่ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน เขารวบรวมไว้ครับ ทรัพย์สินของกองทุนรวมต่างๆ ๑.๖ ล้านล้านบาท  รวมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย ซึ่งมีประมาณ ๔ แสนล้านบาท ซึ่งไม่แน่ใจว่ารวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ รัฐวิสาหกิจ และของข้าราชการ เงินในกองทุนของ กบข. ไปด้วยหรือยัง แต่ของ สำนักงานประกันสังคม ไม่น่าเกี่ยว ดังนั้นทั้งระบบน่าจะมีเงินอยู่ประมาณ ๒ ล้านล้านบาท กว่าไปอีกเล็กน้อย คาดว่าเงินจริงๆคงประมาณ ๑ ใน ๓ ของเงินฝากทั้งระบบ ซึ่งดูไปแล้วธุรกิจนี้ยังโตได้อีกเยอะนะครับ ยิ่งมี พ.ร.บ.นี้มากระตุ้น

fund_07_1.gif

จากรูปจะเห็นว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากนะครับ น่าดีใจจริงๆ ข้อมูลยังมีอีกเยอะก็ตาม link ไปดูเองนะครับ ซึ่งการโตได้เยอะนี้ส่วนหนึ่งมาจากคนรุ่นใหม่ๆ มีความรู้มากขึ้น นำเงินออมออกมาลงทุนเอง และรัฐยังให้การสนับสนุน ทั้งการออกกฏหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฏหมายประกันสังคม กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกองทุน RMF LTF รวมถึงกฏหมายใหม่นี้ และที่กำลังจะออกมา เกี่ยวกับ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ แต่ต้องรอไปก่อนนะครับ ไม่รู้เมื่อไหร่จะออก เห็นร่างกันมาตั้งนานแสนนานแล้ว ยังทำไม่ได้สักที

เอาละดูข้อมูลอื่น มาพอสมควรแล้ว มาดูคนที่จะกระทบกับกฏหมายนี้ดีกว่า หาข้อมูลยากมาเลย ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็หาที่เขาแจกแจงยังที่ได้มาจาก blog ที่แจ้งไว้ในตารางไม่ได้ครับ เอามาทำต่อนิดหน่อย ไม่ต้องพูดมาก ดูสถิติจากรูปเอาเองละกันครับ ว่าใครเดือนร้อนบ้าง

bot_money_jul07.gif

คนส่วนใหญ่ของประเทศสยามนี้ ไม่เกี่ยวแน่นอนครับ มีบัญชีเพียง ๑.๒๔% เท่านั้นที่มีเงินมากกว่า ๑ ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าบัญชีเหล่านี้ ก็เป็นของคนรวย และเป็นบัญชีในนามนิติบุคคลต่างๆ เป็นของบริษัทต่างๆ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ของคนรวยๆเขานั้นแหละ มีอยู่ ๘ แสนกว่าบัญชี คิดเป็นคนออกมารับรองว่าไม่ที่คนหรอกครับ ไปดูสถิติการเสียภาษีบุคคลธรรมดาดูก็รู้ ไว้มาโม้วันหลังนะครับ แต่ดูสิครับ คนกลุ่มนี้มีเงินฝากมากถึง ๗๔% ของเงินฝากทั้งระบบ กฏ ๘๐ ๒๐ ยังใช้ได้กับเรื่องนี้นะครับ

จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้มันเรื่องของคนรวยชัดๆ ดีแล้วนิครับ ที่เขาออกกฏหมายนี้มาได้ ใครชอบไม่ชอบไม่รู้ละ ใครจะบ่นก็บ่นไป รวยแล้วก็ต้องฉลาดด้วย ให้เงินไปทำงานได้ด้วยสิครับ ฝากธนาคารอยากเดียวไม่ไหวแล้วละครับ ตกยุคแล้ว ข้าพเจ้าละชอบจริงๆ ก็ข้าพเจ้าไม่ได้มีเงินล้านในธนาคารนิครับ จะเกี่ยวอะไรได้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวแน่นอน..ฮาฮา

ข้าพเจ้ายังอยากให้มีกฏหมายอีกร่างหนึ่ง ที่เป็นร่างมาหลายสิบปีก็ออกมาบังคับใช้ไม่ได้สักที คาดว่ารัฐบาลก่อนจะช่วยได้ ก็ไม่ได้ ก็คือ กฏหมายภาษีมรดก กฏหมายนี้ไม่รู้ต้องรออีกเมื่อไหร่ครับ เพราะเหล่า ส.ส. ส.ว. ทั้งหลายที่ออกกฏหมาย ต่างเป็นคนรวยทั้งนั้น จะมีใครหวังดีต่อประเทศชาติ ต่อประชาชนบ้าง จะได้กระจายความรวยกันบ้าง..ไม่ไช่มีคนรวยกันแค่ ๑% ของคนทั้งประเทศ อย่างที่เป็นอยู่..ข้าพเจ้าเอง

ปล. ส่งท้ายไว้หน่อยว่าข้อมูลแบบนี้ ไปหาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นะครับ จะไป download สรุปเป็นรายงานระดับไตรมาสก็ได้นะครับ  จะได้หน้าตารายงานแบบ pdf ไฟล์ รายละเอียดในรูปนะครับ ซึ่งมีข้อมูลมากกว่าแบบ link ด้านล่างครับ เพราะมีข้อมูลย้อนหลังและประกอบอื่นๆมากกว่าเยอะครับ ลองไปอ่านดูสิครับ

bot_q4_07.gif

bot_q4_07_2.gif

อยากรู้แบบที่สามารถ copy ใส่ excel มาวิเคราะห์ต่อได้ง่ายๆ ก็ตาม link เหล่านี้ไปดูนะครับ ที่เห็นนี้ก็ส่วนเดียวนะครับ มีอีกเยอะ ที่เหลือก็เข้า web ธนาคารชาติไปดูเองละครับ

IMF Monetary and Financial Statistics Manual      Updated
MS.01 งบดุลของธนาคารแห่งประเทศไทย
(58 KB)
(122 KB)
31 Jan
MS.02 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารแห่งประเทศไทย
(82 KB)
(83 KB)
31 Jan
MS.03 งบดุลของสถาบันรับฝากเงินอื่น
(59 KB)
(75 KB)
31 Jan
MS.04 สินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันรับฝากเงินอื่น
(59 KB)
(38 KB)
31 Jan
MS.05 สินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันรับฝากเงิน
(83 KB)
(36 KB)
31 Jan
MS.06 ปริมาณเงินและองค์ประกอบ
(91 KB)
(63 KB)
31 Jan
MS.07 งบดุลของธนาคารพาณิชย์
(73 KB)
(76 KB)
31 Jan
ตาราง 6 ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
(62 KB)
31 Jan
ตาราง 8 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพาณิชย์
(261 KB)
11 Feb
ตาราง 8.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของธนาคารพาณิชย์
(146 KB)
11 Feb
ตาราง 9 รายการซื้อและขายเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
(81 KB)
31 Jan
ตาราง 10 สินทรัพย์และหนี้สินที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์
(203 KB)
11 Feb
ตาราง 10.1 เงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
(68 KB)
11 Feb
ตาราง 11 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
(162 KB)
11 Feb
ตาราง 12 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์และอัตราการหมุนเวียนของเงินฝาก
(73 KB)
11 Feb
ตาราง 13 เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์
(138 KB)
11 Feb
ตาราง 14 เงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ (ยอดคงค้าง)
(210 KB)
11 Feb
ตาราง 15 เงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์
(120 KB)
11 Feb
ตาราง 16 การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์
(528 KB)
11 Feb
ตาราง 17 ฐานะเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์
(32 KB)
11 Feb
ตาราง 18 สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเงินทุน
(275 KB)
11 Feb
ตาราง 18.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของบริษัทเงินทุน
(148 KB)
11 Feb
ตาราง 18.2 เงินให้สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกิจของบริษัทเงินทุน
(80 KB)
11 Feb
ตาราง 19 สินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (มีข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2549)
(41 KB)
ตาราง 20 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารออมสิน
(95 KB)
11 Feb
ตาราง 20.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของธนาคารออมสิน
(52 KB)
11 Feb
ตาราง 21 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(100 KB)
11 Feb
ตาราง 21.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(72 KB)
11 Feb
ตาราง 22 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารอาคารสงเคราะห์
(120 KB)
11 Feb
ตาราง 22.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของธนาคารอาคารสงเคราะห์
(48 KB)
11 Feb
ตาราง 23 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(97 KB)
11 Feb
ตาราง 23.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(36 KB)
11 Feb
ตาราง 24 สินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
(322 KB)
11 Feb
ตาราง 24.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
(27 KB)
11 Feb
ตาราง 25 เงินรับฝากของสถาบันการเงิน
(26 KB)
11 Feb
ตาราง 26 เงินรับฝากจากภาคครัวเรือนของสถาบันการเงิน
(26 KB)
11 Feb
ตาราง 27 เงินให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน
(26 KB)
11 Feb
ตาราง 28 เงินให้กู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงิน
(22 KB)
11 Feb
ตาราง 29 อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน
(3.7 MB)
11 Feb
ตาราง 30 หลักทรัพย์ออกใหม่
(212 KB)
11 Feb
ตาราง 31 หุ้นกู้ออกใหม่จำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ
(44 KB)
11 Feb
ตาราง 32 ยอดคงค้างหลักทรัพย์