Archive for December 23rd, 2007

ประชาธิปัตย์ หรือ พลังประชาชน ใครก็ไม่สำคัญ

December 23, 2007

                       200px-KingRama7

หลังจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกตอนนี้ผ่านมา ๗๕ ปี เรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว ฉบับปี ๕๐ นี้ก็ฉบับที่ ๑๗ แล้วนะครับ การเลือกตั้งก็มีมา ๒๔ ครั้งแล้ว ไปดู ประวัติการเลือกตั้ง และ ประวัติรัฐธรรมนูญ กันได้ตาม link ไปนะครับ ถ้าอย่างได้ครบๆ คงต้องไปซื้อประวัติรัฐธรรมนูญไทย แต่งโดย อ.คณิน บุญสุวรรณ มาอ่าน แต่มีข้อมูลถึงฉบับที่ ๑๖ เท่านั้นนะครับ 

เดิมทีทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ ๑๕๐ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราชทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิปไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวในโลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย

ในหลวง ร.๗ พระองค์ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งความเสียหายแก่บ้านเมือง และเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นังอนันตสมาคม

           a1

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม สำหรับพระราชทานให้ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕

ซึ่งมีพระราชดำรัสในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญดังนี้

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

หลังจากวันนั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย โดยผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นคือ คณะราษฎร นั้นเอง

วันนี้ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ วันเลือกตั้งครั้งที่ ๒๕ ของประเทศไทย กับรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑๗ ในวันนี้พรรคเด่นสองพรรค คือ ประชาธิปัตย์ และ พลังประชาชน ใครจะชนะก็ไม่สำคัญ เพราะวันนี้เราจะไม่พูดเรื่องผลการเลือกตั้ง ในวันนี้ที่ ณ เวลาที่เขียนประมาณ ๒๐.๓๐ ขณะนี้ นับไปประมาณ ๕๐% กว่าแล้ว คะแนนพลังประชาชนได้ทั้งแบ่งเขตและภาค ได้ ๑๙๗ เสียง ประชาธิปัตย์ได้ ๑๒๗ เสียง พลังประชาชน ชนะอยู่นิดหน่อย ได้สิทธิในการจัดสูตรรัฐบาลก่อน จะออกมายังไงก็ยังไม่รู้

“เสียงอันแท้จริงของประชาราฎร” จะออกมายังไง ก็ถือว่าเป็นอย่างนั้น ช่วยไม่ได้จริง ถือว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศคิดเห็นอย่างนั้น เป็นแบบนั้น เหอ! ใครไม่ออกมาเลือกตั้ง ข้าพเจ้าถือว่าท่านไม่รักชาติ การเมืองเป็นเรื่องของประเทศชาติ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว และการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่ท่านคิด มาก ฉะนั้นจงติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด โปรดอย่างกระพริบตา นักเมือง นักเลือกตั้ง คนดีมีอยู่ คนไม่ดีมีอยู่ โปรดให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง เช่นดัง พระราชดำรัชในหลวง รัชกาลที่ ๙ ตรัสบอกไว้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี ๒๕๑๑ ความว่า “…ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้…”

ผลจะออกมายังไงก็ช่างมันเถอะ มาดูส่วนที่สำคัญที่เราจะพูดถึงดีกว่า ว่าใครจะจะจัดตั้งรัฐบาลได้ จะมีขั้วทางการเมืองหรือไม่ หรือจะผสมกันได้ทั้งหมด พรรคที่ได้อับดับหนึ่งจะจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ จะผสมกันกี่พรรค ก็ยังตอบไม่ได้ แล้วถ้าพลังประชาชน ชนะจริง สมัคร จะได้นายกหรือไม่ ก็ยังไม่แน่ สรุปคือใครจะมาเป็น นายก อันนี้สำคัญกว่ามาก แล้วจะคุมเสียงในสภาได้หรือไม่ต่างหาก คือจุดสำคัญ ว่าจะโหวตให้ใคร ข้าพเจ้าว่าให้รู้ผลการเลือกตั้ง ๑๐๐% ก่อน แล้วผ่านไปอีก ๑-๒ วัน เรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจน ต้องรอ กกต. แจงใบแดงอีก ซึ่งในส่วนนี้ต้องรู้ผลแน่ภายใน ๓๐ วัน เพื่อเปิดรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ

แล้วจุดที่สำคัญกว่านั้น คือ นโยบายที่จะทำ โดยดูจากวันแถลงนโยบาย ก็รู้กัน หลังจากโหวตเลือกนายกกันเรียบร้อยแล้วก็คงบวกไปอีกไม่เกิน ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญกำหนด รวมแล้วต้องรอติดตามอีกประมาณ ๒ เดือน เศรษฐกิจไทยจะไปทางทิศทางไหน ก็ยังไม่รู้ ที่สำคัญในฐานะนักลงทุน ผู้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยคนหนึ่ง ทิศทางตลาดหู้นจะตอบรับไปทางไหนก็ยังไม่รู้ แต่ดูตอนนี้ดูเหมือนจะขึ้นไปก่อนสักสัปดาห์ แล้วคงลงต่อสักพัก

และที่ได้คาดหวังที่สุด คือสิ่งที่รัฐบาลและรัฐสภาจะทำออกมา หลังจากแถลงนโยบายเสร็จ ว่าจะออกมาอย่างไร คือ สิ่งที่ข้าพเจ้าคาดหวังที่สุด จะมีการเข้าข้างกันหรือเปล่า จะมีการล้างแค้นกันหรือไม่ การฟ้องร้องที่ทำๆกันอยู่ผลจะเป็นอย่างไร รัฐธรรมนูญจะถูกฉีกเขียนใหม่ หรือแก้ใหม่อย่างไร GDP ของประเทศจะเป็นยังไง GHP ของประชาชนจะเท่าไหร่ ได้แก้ไขสิ่งเก่าๆสิ่งไม่ดีออกไป เอาสิ่งใหม่ๆสิ่งดีๆเข้ามาได้หรือไม่ หรือจะอยู่ไปวันๆแบบเดิมๆ แบบเบื่อๆ

เศรษฐกิจประเทศไทยจะแข่งขันในเวทีโลกได้หรือไม่ ไม่ต้องแข่งกันไกลหรอก เอาแค่ในอาเซียนนี้ก็จะแข่งได้หรือเปล่า สิงค์โปร์ มาเลเซีย ก็แซงเราไปแล้ว อินโดนีเซีย เวียดนาม ก็กำลังมาแรง เป็นเรื่องที่น่ากังวล เศรษฐกิจในประเทศก็ยังไม่นิ่ง การเมืองก็ยังไม่แน่น เศรษฐกิจนอกประเทศ อย่างปัญหา Subprime ในสหรัฐก็ยังลูกผีลูกคนอยู่เลย ฮาฮา ประเทศไทย เอ๋ย เจ้าจะอยู่อย่างไร เอาพวกใกล้ๆ ไหนจะจีน ไหนจะอินเดีย ไหนจะญี่ปุ่นอีก เหอๆ!!

เอามาดูเรื่องอาเซียนหน่อย สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมด 10 ประเทศ มีสำนักงานเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้บริหารสำนักงาน คนใหม่คือคนไทย ที่ชื่อว่า ดร.สุริทนร์ พิศสุวรรณ

ไหนๆแล้ว พูดถึง ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อีกคนละกัน ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2548 ก่อนหน้านั้นก็เคยรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO)